การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยา (Penology)

    ทัณฑวิทยา (penology) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในสาขาอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา
โดยทัณฑวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยแนวคิดและทฤษฎีการลงโทษ กระบวนการลงโทษ กลไกในทาง
จิตวิทยาที่จะปกป้องและป้องกันการกระทำความผิดทางอาญา และการปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษ35
แนวคิดการลงโทษตามหลักทัณฑวิทยาในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์หลายประการ กล่าวคือ
    (1) การแก้แค้น (retribution)
การแก้แค้นเป็นแนวคิดที่ใช้ในการลงโทษผู้กระทำความผิดมาแต่ยุคแรกที่ให้
ผู้กระทำผิดได้รับโทษตอบแทนในลักษณะ “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” โดยแนวคิดที่สำคัญ คือ การ
ลงโทษในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นการตอบโต้อาชญากรด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม ตาม
หลักการ “Let the punishment fit the crime.
การลงโทษตามแนวความคิดนี้ จึงมีสาระสำคัญว่าต้องลงโทษในอัตราส่วนที่
เหมาะสมกับความผิดที่ได้ก่อ ดังนั้น อาชญากรรมชนิดที่รุนแรง (severe crime) จึงต้องมีอัตราส่วน
การลงโทษมากกว่าอาชญากรรมเล็กน้อย (minor crime)
อย่างไรก็ตาม การลงโทษด้วยการแก้แค้นเป็นการลงโทษที่มองย้อนหลัง
(backward- looking) ไปในอดีตว่าควรจะลงโทษผู้กระทำความผิดลักษณะนี้ในอัตราโทษเท่าใดจึง

จะเป็นการเหมาะสมไม่ได้มองไปถึงอนาคตว่าจะป้องกันการกระทำความผิดซ้ำได้อย่างไร รูปแบบ
ของการลงโทษจึงอยู่ในลักษณะการปรับ การจำคุก หรือการประหารชีวิต เป็นต้น38
    (2) การป้องกันยับยั้ง (deterrence)
การป้องกันยับยั้งหรือการข่มขวัญยับยั้งเป็นแนวคิดที่เชื่อว่า การกระทำผิดเกิดจาก
คนไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายหรือการบังคับใช้กฎหมายอ่อนแอ คนเหล่านั้นจึงเลือกกระทำบางอย่างที่
เห็นว่าจะได้ประโยชน์แม้จะเป็นการเสี่ยงต่อการถูกลงโทษก็ตาม39 ด้วยเหตุนี้ การลงโทษจึงควรมี
ขึ้นเพื่อป้องกันการกระทำความผิดโดยให้ผู้กระทำความผิดรู้สึกถึงการเจ็บปวดจากผลการกระทำ
ของตน
การลงโทษโดยการป้องกันยับยั้งแตกต่างจากการแก้แค้น เพราะการลงโทษด้วย
แนวคิดในการป้องกันยับยั้งเป็นการมองผลที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมในภายหน้า (forward-looking) ว่า
การลงโทษอาชญากรต้องมีวัตถุประสงค์ป้องกันไม่ให้มีอาชญากรได้กระทำความผิดนั้นขึ้นอีกใน
อนาคตแต่การลงโทษด้วยการแก้แค้นเป็นการมองย้อนกลับไปในอดีตโดยเห็นว่า การลงโทษเป็น
ผลที่จำเป็นสำหรับอาชญากรรมและต้องกำหนดโทษโดยคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างการ
ประกอบอาชญากรรมที่ผ่านมากับการลงโทษที่เหมาะสม
    แนวคิดในการป้องกันยับยั้งแยกเป็น 2 แนวคิด คือ
การลงโทษที่ป้องกันยับยั้งเป็นการเฉพาะ (specific deterrence) เป็นแนวคิดที่เห็น
ว่า การลงโทษมีไว้เพื่อป้องกันบุคคลบางคน (specific offender) เช่น ตัวผู้กระทำผิดเอง ไม่ให้
กลับมากระทำความผิดดังกล่าวในอนาคต โดยวิธีการลงโทษอาจปลูกฝังความเข้าใจในผลที่จะ
ได้รับ เช่น การลงโทษผู้กระทำผิดด้วยวิธีการพิเศษ
การลงโทษที่ป้องกันยับยั้งเป็นการทั่วไป (general deterrence) หมายถึง แนวคิดใน
การลงโทษเพื่อให้คนทั่วไปได้เห็นว่า หากกระทำความผิดก็ต้องได้รับโทษ คนเหล่านั้นจะเกรงกลัว
ไม่กล้ากระทำความผิดตาม เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แนวคิดในการลงโทษเพื่อป้องกันมีข้อวิจารณ์ คือ หลายกรณีอาชญากร
ได้กระทำผิดโดยมิได้คำนึงถึงโทษที่จะได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีผู้กระทำผิดเพราะการตัดสินใจ
ชั่ววูบ (heat of the moment) หรือที่กระทำความผิดเพราะฤทธิ์ยาเสพติดหรือสุรา นอกจากนี้ ใน
ความเป็นจริงอาชญากรจะตัดสินใจกระทำความผิดเมื่อคำนึงถึงโอกาสที่จะถูกจับมากกว่าโทษที่จะ
ได้รับ
    (3) การตัดโอกาสกระทำผิด (incapacitation)
หมายถึง การตัดโอกาสโดยให้อาชญากรออกไปจากสังคมเพื่อว่า สาธารณชนจะ
ได้รับการคุ้มครองจากการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
การลงโทษเพื่อตัดโอกาสกระทำผิดมีวัตถุประสงค์คล้ายกับวัตถุประสงค์ของการ
ลงโทษเพื่อข่มขวัญยับยั้ง คือ เพื่อป้องกันอาชญากรรมในอนาคต แต่การลงโทษเพื่อข่มขวัญยับยั้ง
มุ่งให้ผู้กระทำและบุคคลอื่นเกิดความกลัวไม่กระทำผิดอีก แต่การลงโทษเพื่อการตัดโอกาสมุ่ง
ป้องกันการกระทำผิดโดยทำให้ผู้กระทำผิดหมดโอกาสที่จะกระทำผิดขึ้นมาอีก41
การตัดโอกาสกระทำผิดอาจจัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันเป็นการเฉพาะ
(specific deterrence) เพราะมุ่งตัดความสามารถของอาชญากรไม่ให้กลับมากระทำความผิดอีก
มากกว่าที่จะฟื้นฟูความสามารถของอาชญากร ดังนั้น ตามแนวคิดนี้การจำคุกผู้กระทำความผิดจึงเป็น
การมุ่งไม่ให้อาชญากรกลับไปข้องเกี่ยวกับอาชญากรรมอีกไม่ใช่การให้อาชญากรได้รับรู้ถึงผลที่ได้
กระทำไป  ตัวอย่างของการตัดโอกาสกระทำผิด เช่น การเนรเทศ การตัดอวัยวะที่ใช้ในการ
กระทำความผิด การจำคุกตลอดชีวิต เป็นต้น
    (4) การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด (rehabilitation)
การลงโทษด้วยการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดมีวัตถุประสงค์เพื่อจะสร้างผู้กระทำ
ความผิดให้กลับคืนสู่สังคมในสภาพสมาชิกที่ดีของสังคมเพื่อที่จะมิให้ผู้กระทำความผิดได้กลับไป
กระทำความผิดอีก
    สมมติฐานของการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด คือ มนุษย์ไม่ได้เป็นอาชญากรโดยการ
เกิดหรือโดยธรรมชาติ (native criminal) ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะแก้ไขผู้กระทำความผิดให้กลับมา

ใช้ชีวิตอย่างปกติและมีประโยชน์ต่อสังคมได้โดยอาศัยวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการศึกษาและ
การบำบัดเพื่อนำผู้กระทำความผิดนั้นกลับสู่สภาวะจิตใจที่ปกติหรือเพื่อสร้างทัศนคติที่เป็น
ประโยชน์ต่อสังคมแทนที่จะทำร้ายสังคม42
การลงโทษตามแนวคิดนี้อยู่บนพื้นฐานข้อสังเกตที่ว่าการลงโทษเป็นการบังคับ
ผู้กระทำความผิดให้ทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ ในขณะที่การฟื้นฟูเป็นการทำให้ผู้กระทำผิดเหล่านั้นเต็ม
ใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมซึ่งสามารถกระทำได้ง่ายกว่า และแนวความคิดนี้เชื่อว่าเมื่อพ้นจาก
การลงโทษไปแล้ว ผู้กระทำผิดจะสามารถอยู่ในสังคมได้ในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม
ตัวอย่างของการลงโทษตามแนวความคิดนี้ ได้แก่ การให้บริการทางสังคม การคุม
ประพฤติ เป็นต้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การลงโทษเพื่อการฟื้นฟูเป็นการลงโทษที่มองไป
ข้างหน้า (forward-looking) ถึงความสามารถที่สังคมจะได้รับประโยชน์จากการลงโทษดังกล่าว เช่น
การลดอาชญากรรม (crime reduction) แตกต่างจากการลงโทษแบบแก้แค้นที่พิจารณาถึงการกระทำ
ที่ผ่านมาของผู้กระทำผิดเป็นหลัก
    ข้อวิจารณ์ในการบังคับใช้การลงโทษตามแนวคิดนี้ คือ การฟื้นฟูจะขึ้นอยู่กับ
พื้นฐานทางจิตวิทยาของผู้กระทำผิดแต่ละคน เช่น เหตุจูงใจในการกระทำความผิดซึ่งต้องพิจารณา
ว่าผู้กระทำความผิดแต่ละคนจะกระทำความผิดด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ทั้งการฟื้นฟูต้องอาศัย
มาตรการทางสังคมที่แตกต่างกันเพื่อให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับสู่สังคมได้และอาจต้องใช้ระยะ
เวลานาน ดังนั้น การฟื้นฟูอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการลงโทษด้วยวิธีอื่น ทั้งในแง่ของตัวเงินและ
ทรัพยากรบุคคลที่จะปรับปรุงแก้ไขผู้กระทำความผิดเหล่านั้น นอกจากนั้น การฟื้นฟูอาจจะขัดต่อ
ความรู้สึกของคนในสังคมที่เห็นว่า ผู้กระทำผิดไม่ควรได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าคนทั่วไป เช่น การ
จัดการศึกษา การหางาน

    (5) การทดแทน (restitution)
การทดแทนมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยจากผู้กระทำความผิดโดย
มาตรการต่าง ๆ เช่น การให้ผู้กระทำผิดชดเชยเงินค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย เป็นต้น การลงโทษด้วย
การทดแทนมักใช้ควบคู่กับการลงโทษแบบอื่นด้วย เช่น การจำคุกและให้ชดใช้ค่าเสียหาย

อาจกล่าวได้ว่า การทดแทนมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการลงโทษในทางทัณฑวิทยา
โดยแท้ เพราะในทางทัณฑวิทยามุ่งพิจารณาถึงการลงโทษตามหลักเกณฑ์อาชญาวิทยาโดยเฉพาะ
คือ ต้องเป็นการลงโทษเพื่อการคุ้มครองสังคมโดยเฉพาะ แต่การทดแทนเป็นการลงโทษที่มุ่งให้
ผู้กระทำผิดได้ทดแทนหรือเยียวยาความเสียหายที่กระทำต่อผู้เสียหายเป็นรายบุคคลมิใช่ต่อสังคม
โดยรวม ดังนั้น เจตนารมณ์ของการทดแทนจึงมีลักษณะเป็นปัจเจกมิใช่เป็นส่วนรวม
หลักเกณฑ์ของการทดแทนทางอาญาแตกต่างจากการใช้ค่าสินไหมทดแทนทางแพ่ง
เพราะการทดแทนในทางอาญาอาศัยหลักเกณฑ์การฟื้นฟูในสิ่งที่เอาไป (gains-based recovery)
ในขณะที่การใช้ค่าสินไหมทดแทนจะอาศัยหลักเกณฑ์เยียวยาความเสียหายทั้งหมดที่ได้รับ (lossbased
recovery) เช่น เมื่อ ก. ขโมยสร้อยเพชรในร้านเพชรราคา 5 ล้านบาทไปโดยได้ทำลายประตูคิด
เป็นมูลค่าความเสียหาย 1 หมื่นบาทเข้าไป ต่อมา ก็เอาเพชรดังกล่าวไปขาย หาก ก. ถูกจับได้ การ
ลงโทษด้วยการทดแทนในข้อหาลักทรัพย์โดยอาศัยเกณฑ์การฟื้นฟูในสิ่งที่เอาไปคือ ก. ต้องทดแทน
5 ล้านบาท ไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายของประตู (เว้นแต่ ได้ดำเนินคดีกับ ก. ในข้อหาทำให้
เสียทรัพย์อีกกระทงหนึ่ง)44
      อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่า การลงโทษจะคำนึงถึงแนวคิดใดเพียงแนวคิดเดียว
เพราะแนวคิดหรือวัตถุประสงค์ทั้งห้าประการดังกล่าวมาต่างมีข้อจำกัดในการใช้ลงโทษผู้กระทำ
ความผิด ดังนั้น ในทางทัณฑวิทยาปัจจุบันจึงมีการผสมผสานแนวคิดทั้งห้าเข้าด้วยกันอย่าง
กลมกลืน เช่น มีการจำคุกเพื่อแก้แค้นทดแทนตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับความผิดที่ได้กระทำและ
เพื่อข่มขู่ไม่ให้บุคคลอื่นเอาเยี่ยงอย่าง ในขณะเดียวกันเมื่อถูกจำคุกไปแล้ว ผู้ต้องขังต้องได้รับการฝึก
อาชีพให้มีวิชาความรู้ติดตัวหลังจากพ้นโทษแล้ว

ความคิดเห็น

  1. แฟนโดนจับคดีครอบครองใว้เพื่อจำหน่ายและเสพค่ะ ศาลตัดสิ้นแร้ว เมื่อวันที่26มีนาคม. แต่โดนจับเมื่อวันที่23มกราคม 61 วัดค่าตัวยาเกินกำหนด ยาไอซ์1.31กรัม ศาลตัดสิน2ปี6ลดครึ่งนึงแร้วจากการรับสารภาพ
    อย่าทราบว่า แฟนจำมีสิทได้รับการลดโทษจากการขึ้นครองราชหรือวิธีอื่นพักโทด สามามารถยื่นเรื่องไดไหม๊ค๊ะ กรณีหนูท้องจะแปดเดือนไกล้คลอดต้องยื่นเรื่องแบบไหนค๊ะ ต้องไช้เอกสารอะไรบ้าง สามารถยื่นเรื่องได้ที่ไหนค๊ะ

    ตอบลบ
  2. แฟนโดนจับคดีครอบครองใว้เพื่อจำหน่ายและเสพค่ะ ศาลตัดสิ้นแร้ว เมื่อวันที่26มีนาคม. แต่โดนจับเมื่อวันที่23มกราคม 61 วัดค่าตัวยาเกินกำหนด ยาไอซ์1.31กรัม ศาลตัดสิน2ปี6ลดครึ่งนึงแร้วจากการรับสารภาพ
    อย่าทราบว่า แฟนจำมีสิทได้รับการลดโทษจากการขึ้นครองราชหรือวิธีอื่นพักโทด สามามารถยื่นเรื่องไดไหม๊ค๊ะ กรณีหนูท้องจะแปดเดือนไกล้คลอดต้องยื่นเรื่องแบบไหนค๊ะ ต้องไช้เอกสารอะไรบ้าง สามารถยื่นเรื่องได้ที่ไหนค๊ะ

    ตอบลบ
  3. ถ้าเราตัดสินแล้วแต่มีพละจ้องเลี้ยงดุครอบครัวเราสามารถขอลดโทษด้ายไม

    ตอบลบ
  4. แล้วเยาวชนอายุ19ด้ายมัย

    ตอบลบ
  5. อยากรู้ว่าตอนนี้ไซซะนะ แก้วพิมพาอยู่เรือนจำอะไร พอดีเห็นข่าวเงียบ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชีวิตนักโทษในแต่ละวันในเรือนจำ

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 2