พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 1

วันนี้ขออาสาพาผู้ที่สนใจ และไม่รู้จะทำอะไร ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์กัน ปกติแล้วจะเปิดทำการในวันราการ คือในวันจันทร์ - ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 16.00 น. ตั้งอยู่ที่ถนนมหาไชย บริเวณเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเดิม (ติดกับร้านขายเครื่องหวาย "นายเหมือน ") ใกล้คียงกับสวนสาธารณสวนรมณีนาท 


ด้านหน้าจะมีป้ายแสดงที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ ก่อนอื่ขอแนะนำประวัติพิพิธภัณฑ์ สักกะนิส ...

     พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ เริ่มจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2482  พ.อ.ขุนศรีศรากร (ชลอ
ศรีศรากร) ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้รวบรวมวัตถุเกี่ยวกับการลงโทษและวัตถุโบราณที่พบ
ภายในบริเวณเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศ จัดแสดง ณ เรือนจำกลางบางขวาง เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม
ข้าราชการราชทัณฑ์ บริเวณตรงข้ามเรือนจำกลางบางขวาง จึงได้ขนย้ายวัตถุสิ่งของดังกล่าวมาจัดแสดง ณ
อาคารศูนย์ฝีกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ ในนาม พิพิธภัณฑ์
ราชทัณฑ์ โดยมีพิธีเปิดเป็นทางการพร้อมกับอาคารศูนย์ฝึก
อบรมข้าราชการราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 
21 เมษายน 2515 ต่อมา
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 
27 มกราคม 2530 ปรับปรุง
บริเวณที่ตั้งของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครให้กรุงเทพ
มหานคร จัดสร้างสวนสาธารณะน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงมี
พระชนม์มายุครบ 60 พรรษา ได้กำหนดบริเวณอาคารด้านหน้า จำนวน 3 หลัง และอาคารแดน 9 ซึ่งกรม
ศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วจัดสร้างเป็น พิพิธภัณฑ์แสดงประวัติความเป็นมาของกิจการ
ราชทัณฑ์โดยจัดย้ายสิ่งของจากพิพิธภัณฑ์เดิมใน
บริเวณศูนย์ฝึกอบรม ข้าราชการราชทัณฑ์ มาตั้ง
แสดง ณ พิพิธภัณฑ์ที่จัดสร้างใหม่ สมเด็จพระ-
บรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระ
ราชดำเนินทรงเปิดเป็นทางการพร้อมกับสวน
สาธารณะ ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า สวนรมณีนาถ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2542
    เดินเข้าไปข้างในกัน ....
เมื่อเดินเข้าไปจะพบอาคารหลังที่ 1 (อยู่ด้านซ้ายมือ)
อาคารหลังที่ 1
ชั้นล่าง แบ่งเป็น 2 ห้อง
ห้องแรก      จัดแสดงเครื่องพันธนาการ ในสมัยโบราณ ได้แก่ ขื่อ คา โซ่ ตรวน สมอบก และกลัง เป็นต้น
ห้องที่สอง    จัดแสดงเครื่องมือการลงทัณฑ์สมัยโบราณ ด้วยวิธีการที่เรียกว่าจารีตนครบาล ได้แก่ การลงทัณฑ์ด้วยวิธีทารุณ เช่น การบีบเล็บ บีบขมับ เบ็ดเหล็ก ตระกร้อช้างเตะ เป็นต้น

ชั้นบน แบ่งเป็น 3 ห้อง
ห้องแรก      แสดงให้เห็นถึงการประหารชีวิตแบบสมัยโบราณ ได้แก่ การแสดงหุ่นประหารชีวิตด้วยดาบประกอบด้วยศาลเพียงตา ขันน้ำมนต์ และอาหารมื้อสุดท้าย ของผู้ต้องขัง เป็นต้น
ห้องที่สอง    จัดแสดงอาวุธปืน ซึ่งเคยใช้ในราชการของกรมราชทัณฑ์ในสมัยต่างๆ และอุปกรณ์การลัก ลอบนำยาเสพติดเข้าเรือนจำ อุปกรณ์การหลบหนี และอุปกรณ์ก่อเหตุร้ายของผู้ต้องขังชนิด ต่างๆ
ห้องที่สาม    จัดแสดงการประหารชีวิตแบบปัจจุบัน คือการประหารชีวิต ด้วยปืน




อาคารหลังที่ 2
ชั้นล่าง     แสดงภาพประวัติความเป็นมาของเรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร (เดิม) ในสมัยต่างๆ และแสดงวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ที่คงเก็บรักษาไว้ภายหลังการรื้อถอนอาคารของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (เดิม)
ชั้นบน     จัดเป็นห้องแสดงนิทรรศการพระมหากรุณาธิคุณ
                ของพระบรมราชจักรีวงศ์ในงานราชทัณฑ์




อาคารหลังที่ 3

   จัดเป็นสถานที่สำหรับจำหน่ายสินค้าที่ระลึก สำหรับผู้เยี่ยม
ชมพิพิธภัณฑ์ และเป็นที่บรรยายสรุปประวัติความเป็นมาการราชทัณฑ์ไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้กับผู้เยี่ยมชมที่เป็นหมู่คณะ







อาคารหลังที่ 4 หรือ อาคารแดน 9
 
เป็นอาคารเรือนนอนของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
มหานคร (เดิม) ซึ่งคงสภาพเดิมไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะของอาคารห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้องควบคุมผู้ต้องขัง และสภาพการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ต้องขัง เช่น การกินอยู่หลับนอน ลักษณะการก่อสร้างตัวอาคารเป็นการนำเอาแบบอย่างทางตะวันตกมาใช้ เช่น มีระบบการเปิดปิดห้องนอนผู้ต้องขัง

ความคิดเห็น

  1. ส ย อ ง แ ร ะ มิ บั ง อ า จ

    ลิ้ ม ล อ ง อ ะ จ ร้ า แ บ บ นี้..

    ข อ บ คุ ณ ที่ ใ ห้ ค ว า ม รู้ น่ ะ เ คิ๊ บ...

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชีวิตนักโทษในแต่ละวันในเรือนจำ

การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยา (Penology)

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 2