วิวัฒนาการการลงโทษผู้กระทำผิดในประเทศไทย

   การลงโทษผู้กระทำผิดได้มีความคล้ายคลึงกันในหลายประเทศ คือ วิวัฒนาการในแนวทางที่อาศัยหลักมนุษยธรรมมากชึ้น เริ่มจากการลงโทษอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อตอบแทนให้สมแค้น เพื่อข่มขู่ยับยั้งให้กลัวและเข็ดหลาบ มาเป้นการฟื้นฟูอบรมแก้ไขให้คืนดี รูปแแบการลงโทษในแต่ละยุคสมัย ก็เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการปกครองและสังคมเป็นสำคัญ
    เฉพาะการลงโทษผู้กระทำผิดของประเทศไทย  ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  ซึ่งอาจแบ่งววิวัฒนาการเป็น 3 ยุค คือ
    1. ยุคก่อนสมัยรัชกาลที่ 5
    2. ยุคแห่งการปรับปรุงในสมัยรัชกาลที่ 5
    3. ยุคปัจจุบัน  เริ่มแต่สมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ . 2475
   ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  แม้กฎหมายเก่าจะสูญหายไปมาก  แต่จากฎหมายตราสามดวง  ก็ยังเห็นเค้าโครงของการลงโทษในสมัยนั้นได้ว่า เป็นการลงโทษเพื่อตอบแทนให้สมแค้นและข่มขู่ยับยั้ง เพราะมุ่งลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตในพระอัยการขบถศึก อันว่าด้วยโทษทวะดึงษ์กรรมกรณ์ 32 ประการ ได้กำหนดวิธีการประหารชีวิตหลายรูปแแบอย่างน่าสยดสยอง
   การลงโทษสมัยอยุธยา พอประมวลได้ ดังนี้

  1. การประหารชีวิต ปกติใช้วิธีตัดศีรษะด้วยดาบ แต่ในกรณีกปฏ ได้มีปทปัญญัติในลักษณะที่โหดร้ายทารุนอย่างยิ่ง ซึ่งเข้าใจว่ามุ่งข่มขู่ให้เกรงกลัว และในกรณีลงโทษพระราชวงศ์ ก็มีวิธีการประหารชีวิตแตกต่างจากสามัญชน
  2. ลงโทษร่างกายให้เจ็บปวดทรมาน โดยปกติใช้เฆี่ยนด้วยหวาย จองจำเครื่องพันธนาการด้วย ขื่อ คา พวงคอ ล่ามโซ่ ตรวน ขึ้นขาหย่าง การบั่น ทอนอวัยวะ อาทิ ตัดมือ ตัดเท้า ปอกเล็บ ควักนัยตา แหวะปาก ตัดลิ้น
  3. ประจาน ได้แก่ สักหน้าหรือสักตัว แบะหน้าผากหรือแก้ม พร้อมทั้งจำเครื่องพันธนาการ มีคนตีฆ้องร้องประกาศความชั่ว ตระเวณไปรอบเมอง
 4. ปรับตามลักษณธความร้ายแรงของความผิด และตามฐานันดรศักดิ์
 5. ริบทรัพย์สินมักคุ่กับโทษประหารชีวิต เรียกว่าริบราชบาทว์ คือ ถูกริบหมดทั้งทรัพย์สินเงินทอง รวมทั้งลุกเมีย
6. โทษจำคุก ไม่มีกำหนดยาวนานเท่าใด แล้วแต่พระเจ้าอยู่หัวจะทรงโปรดพระราชทานอภัยโทษ หรือมีพระบรมราชโองการสั่งให้เป็นอย่างใด

 สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
     หลักการและแนวความคิดในการลงโทษก็ไม่แตกต่างกันนัก การเรือนจำในกรุงเทพฯ มี 2 อย่าง คือ "คุก" ใช้เป็นสถานที่จำขังผู้ร้าย ที่มีกำหนดโทษสูง 6 เดือนขึ้นไป ส่วนผู้ต้องขังที่มีกำหนดโทษตั้งแต่ 6 เดือนลงมาก็ให้ขังไว้ใน "ตะราง" ซึ่งมีอยู่หลายตะรางสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ที่บังคับบัญชากิจการนั้นๆ ส่วนการเรือนจำในหัวเมืองชั้นนอก อยุ่ในความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการเมือง มีสถานที่คุมขังผู้ต้องโทษ เรียก่า "ตะรางประจำเมือง" ถ้าเป็นกรณีความผิดฉกรรจ์มหันตโทษ ผู้ว่าราชการเมืองต้องส่งตัวผู้กระทำผิดมายังกระทรวงเจ้าสังกัด การคุมขังนักโทษสมัยนั้นมิได้มีกฎข้อบังคับไว้โดยเฉพาะ ให้แล้วแต่ผู้ว่าราชการเมืองจะกำหนดขึ้นใช้เองตามแต่จะเห็นควร
 ในยุครัชกาลที่ 5
    นับเป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงงานราชทัณฑ์ของไทยให้ก้าวหน้าขึ้น โดยได้ทรงยกเลิกจารีตนครบาลอันโหดร้าย ทรงจัดระเบียบการคุกตะรางใหม่เริ่มแต่ ร.ศ .110 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเรือนจำ ร.ศ. 120 เพื่อใช้บังคับกิจการเรือนจำเป็นการเฉพาะ ทรงวางระเบียบข้อบังคับเรือนจำให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ด้วยกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งมีหลักการและวิธีการลงโทษที่ได้ละเว้นความทารุณโหดร้ายลงไปมาก กับได้บัญญัติวิธีลงโทษผู้กระทำผิดอาญาแผ่นดินต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม คือ ตำรวจ อัยการ ศาล และเรือนจำ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้ประกาศตั้งกรมราชทัณฑ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2458 โดยรวมกิจการเรือนจำทั่วราชอาณาจักรไว้ในสังกัดกระทรวงนครบาล การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้เป็นไปตามระเบียบ กฎ ข้อบังคับเดียวกัน นับว่าการราชทัณฑ์ไทยได้พัฒนาไปสู่แนวทางที่มีเหตุผลยิ่งขึ้น
    หลังจากกาเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 การราชทัณฑ์ไทยจึงได้วิวัฒนาการเข้าสู่ยุคปัจจุบัน เริ่มจากการสร้างเรือนจำกลางบางขวางให้เป็นเรือนจำที่ทันสมัยในปี พ.ศ. 2477 แก้ไขเปลี่ยนแปลงการประหารชีวิตด้วยดาบ เป็นการประหารชีวิตโดยใช้อาวุธปืนยิงให้ตาย มีการกำหนดนโยบายอาญาและหลักทัณฑปฏิบัติให้สอดคล้องกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและตามหลักการของอารยะประเทศยิ่งขึ้น โดยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 กำหนดหลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องขององค์การสหประชาชาติ โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และมุ่งในเรื่องการฟื้นฟูอบรมแก้ไขผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป


         

ความคิดเห็น

  1. ตื่ น แ ต่ เ ช้ า มื ด ม า นั่ ง อ่ า น

    ด้ ว ย ค ว า ม ตื่ น เ ต้ น..ขอบคุณเคิ๊บ

    ตอบลบ
  2. เอาไปเตม 100 คะแนนเลย ....

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชีวิตนักโทษในแต่ละวันในเรือนจำ

การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยา (Penology)

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 2