การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยากับความผิดอันยอมความได้

   แนวคิดในทางทัณฑวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความผิดอันยอมความได้ ดังนี้
    (1) โทษเป็นส่วนสำคัญของกฎหมายอาญา เพราะโทษคือสภาพบังคับที่รัฐปฏิบัติต่อ
ผู้กระทำความผิด แม้แนวคิดในการใช้เป็นเหตุในการลงโทษนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและ
ค่านิยมของสังคม แต่ลักษณะสำคัญของโทษยังคงเหมือนเดิม คือ การทำให้ผู้กระทำผิดได้รับความ
ลำบากจากผลของการกระทำของตน

    (2) ลักษณะของการลงโทษในปัจจุบัน แม้จะเห็นว่าต้องใช้การลงโทษเพื่อป้องกันมิให้
มีการกระทำความผิดซ้ำขึ้นมาอีกและเพื่อฟื้นฟูให้ผู้กระทำผิดสามารถปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างผู้
ประพฤติดีมีคุณธรรม แต่ลักษณะของการลงโทษด้วยการแก้แค้นยังคงปรากฏอยู่เช่นเดียวกัน โดย
เห็นได้จากการลงโทษหนักเบาตามพฤติการณ์ของการกระทำความผิด ดังนั้น การลงโทษจึงเป็นการ
มองทั้งในอดีต (ความเหมาะสมของโทษที่ควรได้รับกับการกระทำความผิดที่ได้ลงมือ) และใน
อนาคต (การป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดอีก)
    (3) การยอมความเป็นการตกลงกันระหว่างผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด โดย
ลักษณะของการยอมความในปัจจุบัน หน่วยงานของรัฐไม่มีหน้าที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตกลง
ระหว่างผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด จึงไม่มีการนำหลักการลงโทษตามแนวคิดทางทัณฑวิทยามา
ใช้ ดังนั้น การกำหนดความผิดอันยอมความได้ด้วยหลักการและวิธีที่มีอยู่ในปัจจุบันแม้จะมีผลเป็น
การลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล แต่อาจทำให้สังคมไม่มีหลักประกันว่าจะไม่เกิดการกระทำความผิดซ้ำ
อีกในอนาคต เพราะไม่มีมาตรการป้องกันยับยั้งและมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชีวิตนักโทษในแต่ละวันในเรือนจำ

การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยา (Penology)

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 2