พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 2

    ในตอนที่ 1 ได้แนะนำเบื่องต้นถึงที่ตั้งและประวัติของพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ไปแล้ว เอาละครับตอนที่ 2 นี้จาพาท่านเข้าไปดูทีละตึกว่ามีอะรัย .... ง้่านตามมาเลยครับ  .... เข้าไปในตึก 1 กัน ...
    ที่ท่านกำลังยืนอยุ่นี้ เมื่อผ่านประตูทางเข้าตึก 1 มาแล้ว มางขวามือและด้านซ้ายมือ ถ้าท่านเงยหน้าขึ้นมองท่านจะเห็นภาพเขียนสีน้ำมัน เป็นภาพแสดงการลงโทษในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในพระอัยการศึก 32 ประการ เช่น การเปิดกะโหลก การถลกหนัง การเชือดปากจนถึงหู เป็นต้น หรือเรียกโทษเหล่านี้ว่า โทษทวะดึงษ์กรรมกรณ์ 32 สถาน " ซึ่งภาพเหล่านี้จะหาชมจากที่อื่นไม่มี


ในห้องเดียวกันนี้จะมีกำปั่นเก็บเงินโบราณ ในสมัยก่อนใช้สำหรับเก็บรักษาเงินหลวงในเรือนจำ


เดินตามผมมาครับ ผมจะพาขึ้นไปชมในส่วนอื่นๆ ต่อ เดินตรงไปที่ประตูข้างหน้าที่เห็น เมื่อเข้าไปเราจะเห็นเครื่่องพันธนาการนักโทษที่ใช้ในสมัยโบราณ วัตถุประสงค์การใช้เครื่องพันธนาการ ก็เพื่อป้องกันนักโทษหลบหนี

ที่เห็นขณะนี้คือเครื่องพันธนาการที่เรียว่า "ตรวน" มีหลายขนาดและหลายแบบ มีวัตถุประสงค์การใช้ที่เหมือนกัน คือ ป้องกันการหลบหนีของนักโทษ  เดินเลี้ยวฃวามาทางนี้ครับ ....


  สรีระโครงกระดูกที่ท่านเห็นนี้ได้รับการอุทิศร่างกายเพื่อเปนอุทาหรณ์สำหรับคนรุ่นหลัง ผู้อุทิศร่างผู้นี้เป็นอดีตนักโทษ เราเรียกแกว่า "ลุงโถ" ลุงโถแกเสียชีวิตในเรือนจำ มีเรื่องเล่าติดตลกว่าลุงโถแกจะช่วยดูแลสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ และบ่อยครั้งแกชอบให้โชคให้ลาภผู้คน ..... รีบขอเลขกันหน่อยครับ เราจะไปต่อกันเถอะครับ  .... 55


ตามผมมาที่ห้องขวามือทางนี้ครับ .... ห้องนี้เป็นการแสดงให้เห้นถึงการเปลี่ยนแปลงจากสถานที่ที่เดิมเป้นเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ซึ่งเคบเป็นที่คุมขังนักดทาในคดีต่างๆจนถึงนักโทษการเมืองคนสำคัญ อาทิเช่น จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม และในปัจจุบันเรือนจำพเศษกรุงเทพได้ย้ายไปเปิดทำการ ณ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร วึ่งสถานที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (เดิม) ได้ถุกรื้อถอน และสร้างเป็นสวนสาธารณะ สวนรมณีนาถในปัจจุบัน ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจำพิเศษกรุงเทพเดิมนี้ กล่าวือเป้นเรือนจำที่ได้รับการก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำแบบสถาปัตยกรรม มาจากเรือนจำ Brixton ในประเทศอังกฤษ
   ไปที่ชั้นสองกันดีกว่าครับ .... ขึ้นบันไดทางนี้เลยครับ ....



ชั้น 2 ของอาคารหลังนี้ จะประกอบด้วยห้อง 3 ห้อง เป้นห้องที่แสดงถึงวิวํฒนาการการประหารชีวิตในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ห้องแรกที่กำลังจะพาไปชม เป็นห้องที่แสดงการประหารในอดีตยุคแรกๆ เป็นการประหารด้วยดาบ เป็นการลงโทษขั้นสูงสุด หรือมหันตโทษ  การลงโทษประหารชีวิตด้วยดาบ ในสมัยนั้นจะเรียกว่า "กุดหัว" โดยใช้ดาบฟันคอนักโทษให้ขาด ดาบที่ใช้ประหารมีรุปร่างต่างๆกัน ครูเพชฆาตจะเป็นผู้จัดทำดาบ มีดาบปลายแหลม ดาบปลายตัด และดาบหัวปลาไหล การประหารครั้งใดจะใช้ดาบชนิดใด ให้อยุ่ที่ดุลพินิจครูเพชฆาต ในการประหารแต่ละครั้งเพชฆาตผู้ทำหน้าที่ประหารมี 3 คน คือ ดาบที่ 1 และตัวสำรองอีก 2 คน เรียกว่าดาบสอง และดาบสาม หากดาบที่ 1 ฟันคอไม่ขาด ดาบสองจะซ้ำ ถ้ายังไม่ขาดดาบที่สามก้ต้องเชือดให้ขาด
    พิธีการประหารชีวิตด้วยดาบ มีเครื่องมือเครื่องใช้และวิธีทางไสยศาสตร์หลายอย่าง เช่น มีสายมงคลล้อมรอบบริเวณประหาร กันผีตายโหงจะเฮี้ยน การตัดสายมงคลต้องใช้มีดโดยเฉพาะ จะใช้ของอื่นไม่ได้ การประหารชีวิตนักโทษด้วยดาบมักทำพิธีกันที่วัด โดยคุมตัวนักโทษประหารเดินทางโดยทางเรือออกจากคุกในลักาณธจองจำครบ 5 ประการ และก่อนที่จะทำการประหารนักโทษ จะมีขั้นตอนของการประหารด้ยดาบ คือ
1. เมื่อลูกขุน ณ ศาลหลวง วางโทษให้ประหารชีวิต ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อโปรดเกล้าให้ประหารชีวิต
2. ก่อนจะนำตัวไปประหารชีวิต จะต้องถูกเฆี่ยน 3 ยกๆ ละ 30 ที รวม 90 ที
3. ขณะนำตัวนักโทษประหารมาสู่ลานพิธีประหาร นักโทษจะต้องถูกพันธนาการด้วยตรวนใส่เท้า ขื่อข้อมือ โซ่ล่ามคอ คาไม้ และโซ่บั้นเอว ครบ 5 ประการ
4. จัดอาหารคาวหวาน มื้อสุดท้ายให้นักโทากินก่อนประหารและนิมนต์พระมาเทสน์ให้ฟัง
5.  นัโทษประหารถุกจับนั่งมัดกับหลักไม้กางเขนแบบกาจับหลัก
6.  เพชฌฆาตเอาดินเหนียวอุดหู อุดปาก และแปะไว้ที่ต้นคอนักโทษ เพื่อกำหนดตรงที่จะฟัน จากนั้นเพชฌฆาตดาบสองจะร่ายรำไปมา เพื่อรอจังหวะให้จิตนักโทษสงบ พร้อมกับเพชฌฆาตดาบหนึ่งลงดาบฟันคอทันที
7. เมื่อประหารแล้วเจ้าหน้าที่จะตัดส้นเท้า เพื่อถอดตรวนออกแล้วสับร่างหรือแร่เนื้อให้ทานแก่แร้งกา
8. จากนั้นเอาหัวไปเสียบประจาน


ดาบที่เห็นเป็นดาบที่ผ่านการใช้ประหารนักโทษจริง


ที่เห็นเป็นภาพปู่เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง เพชฌฆาตคนสุดท้ายทื่ประหารชีวิตด้วยดาบ


ภาพที่เห็นด้านซ้ายเป็นมีดใช้ตัดสายมงคล ส่วนด้านขวาเป็นมีดใช้สับข่อเท้าศพเพื่อเอาตรวนออก
ยังไม่หมดแค่นี้นะครับ .... ตอนต่อไปจะพาไปดูการประหารชีวิตแบบอื่นต่อไป .... รอชมนะครับ

ความคิดเห็น

  1. "ตรวน" ..อ ย่ า ก ะ ไ ม่ ไ ด้ มี ไ ว้ ล่ า ม ค น เ ล ย อ่ ะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชีวิตนักโทษในแต่ละวันในเรือนจำ

การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยา (Penology)