กระบวนการยุติธรรมของไทย

 กระบวนการยุติธรรม หมายถึง การดำเนินการคดีเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ระหว่างผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานมี การสืบสวนหาข้อเท็จจริงกับผู้กระทำผิดจนถึงการฟ้องร้องต่อศาล ทั้งในกรณีของคดีแพ่งและคดีอาญา 
     บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
     1. ประชาชน หมายถึง ประชาชนผู้เกี่ยวข้อง ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย พยาน
     2. พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด
     3. พนักงานอัยการ มีหน้าที่ฟ้องคดีผู้ถูกกล่าวหาต่อศาล เป็นทนายโจทก์หรือทนายจำเลย หรือทนายความของแผ่นดิน
     4. ทนายความ คือ ผู้ที่ดำเนินคดีให้แก่ลูกความในศาล
     5. ศาล มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี
            ศาลแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
               1. ศาลชั้นต้นคือ ศาลเริ่มต้นคดี แบ่งเป็น
                     - ศาลแขวง คือ ศาลพิจารณาคดีเล็ก ๆ เช่น ลักทรัพย์ ยักยอก ทำร้ายร่างกาย
                     - ศาลเยาวชนและครอบครัว
                     - ศาลแรงงาน
                     - ศาลภาษีอากร
               2. ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้ว ได้แก่
                     - ศาลอุทธรณ์
                     - ศาลอุทธรณ์ภาค 1
                     - ศาลอุทธรณ์ภาค 2
                     - ศาลอุทธรณ์ภาค 3
               3. ศาลฎีกา คือ ศาลสูงสุดในการพิจารณาคดีที่ตัดสินโดยศาลอุทธรณ์ แต่ยังไม่เป็นที่พอใจของคู่ความ จึงยื่นอุทธรณ์ได้                   มีอยู่ที่กรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว
      6. เจ้าพนักงานบังคับคดีและพนักงานราชทัณฑ์
          
คดีแพ่งจะเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี และกระทรวงยุติธรรม
          คดีอาญาเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงาน กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย


กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
คดีอาญา คือ คดีที่มุ่งรักษาความสงบ และความเป็นระเบียบของสังคม
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา มี 7 ฝ่าย คือ
    1. ประชาชน หมายถึง ผู้ได้รับความเสียหาย หรือที่เรียกว่าโจทก์
    2. พนักงานจับกุมและสอบสวน
    3. พนักงานอัยการ
    4. ทนายความ
    5. เจ้าหน้าที่ศาล หรือจ่าศาล
    6. คณะผู้พิพากษา
    7. กรมราชทัณฑ์ ผู้คุม
ขั้นตอนและการฟ้องคดีอาญา
    1. เมื่อมีผู้เสียหายแจ้งความ ร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดี
    2. พนักงานสืบสวนสอบสวนจะรวบรวมข้อเท็จจริงและพิสูจน์ความจริงของผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
    3. พนักงานสอบสวนทำสำนวนข้อกล่าวหาเสนอต่ออัยการ
    4. ในชั้นศาล ศาลจะประทับฟ้อง ถ้าผู้เสียหายฟ้องศาลเองศาลจะไต่สวนมูลฟ้องว่าคดีนั้นมีมูลเพียงพอที่จะฟ้องหรือไม่        ถ้าเป็นคดีอุกฉกรรจ์ศาลจะหาทนายความให้กับจำเลยเพื่อความเป็นธรรม
    5. การสอบคำให้การของจำเลย
    6. การสืบพยาน ให้โจทก์สืบพยานก่อนเพื่อพิสูจน์ความผิด
    7. การพิพากษาตัดสินโดยศาลจะดูจากพยานหลักฐานทั้งบุคคล เอกสาร พยานวัตถุ
    8. การอุทธรณ์ฎีกาต้องทำภายใน 1 เดือน
    9. การบังคับคดี เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะทำหน้าที่ตามคำพิพากษานั้น
โทษทางอาญา แบ่งได้เป็น
     - การริบทรัพย์
     - ปรับ
     - กักขัง
     - จำคุก
     - ประหารชีวิต (โทษสูงสุดของคดีอาญา)



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชีวิตนักโทษในแต่ละวันในเรือนจำ

การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยา (Penology)

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 2