เผอิญต้องติดคุก .... เลือกคุกได้ไหม ?

ผู้เขียนได้ยินและรับทราบมาบ่อยครั้งว่า เดี๋ยวนี้ติดคุกไม่ลำบาก อยากอยู่ที่ไหนเลือกได้ ด้วยเหตุนีั้ใคร่ที่จะทำความเข้าใจกับผู้อ่านว่า คุกหรือเรือนจำ มิใช่โรงแรม ดังนั้นเมื่ออยู่ในสถานะของผู้ต้องขังแล้ว ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกว่าจะอยู่คุกหรือเรือนจำไหน แต่สิ่งที่กำหนดว่าจะได้อยู่คุกไหน มีเงื่อนไข ดังนี้
1. ท้องที่ทำความผิด
     กล่าวคือ ถูกส่งฟ้องศาลที่ไหน ก็จำคุกที่เรือนจำประจำศาลนั้น ปัจจุบบันกรมราชทัณฑ์ เตรียมเรือนจำไว้รองรับกว่า 143 แห่งทั่วประเทศ
2. สถานะของผู้ต้องขัง
     ผู้ต้องขังที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดี จะถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษต่างๆ  อาทิเช่น เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรือนจำพิเศษธนบุรี และเรือนจำพิเศษพัทยา  เป็นต้น  ซึ่งปฏิบัติต่อผู้ต้องขังแตกต่างไปจากผู้ต้องขังที่คดีเสร็จสิ้นแล้ว (แต่ในสภาวะปัจจุบัน ในเรือนจำหลายๆแห่ง ผู้ต้องขังเหล่านี้ก็ยังถูกคุมขังปะปนกับผู้ต้องขังที่ถูกตัดสินแล้ว เนื่องจากมีเรือนจำพิเศษไม่เพียงพอ)
     ส่วนผู้ต้องขังโทษเหลือน้อย ก็อาจได้รับการพิจารณาส่งตัวไปยังทัณฑสถานเปิดต่างๆ (ทัณฑสถานเปิด เป็นสถานที่ที่ใช้เตรียมการใช้ชีวิตในสังคมแก่ผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษ) อาทิเช่น ทัณฑสถานเปิดบ้านนาวง  ทัณฑสถานเปิดห้วยโป่ง  ทัณฑสถานเปิดหนองน้ำขุ่น เป็นต้น
3. ความรุนแรงของคดี
     กรณีที่ 1 -  ถ้าจำคุกนาน จะถูกส่งไปยังเรือนจำที่มีความมั่นคงสูง (กรมราชทัณฑ์แบ่งประเภทเรือนจำตามระดับความมั่นคงใน 3 ระดับ คือ เรือนจำความมั่นคงสูง  เรือนจำความมั่นคงปานกลาง  และเรือนจำความมั่นคงต่ำ) ได้แก่ เรือนจำกลางต่างๆ เรือนจำบางขวาง เรือนจำกลางคลองเปรม และเรือนจำกลางประจำเขต เป็นต้น
     กรณีที่ 2 -  ถ้าโทษไม่สูง ก็จะถูกควบคุมที่เรือนจำจังหวัด หรือเรือนจำอำเภอ
     กรณีที่ 3 -  ถ้าถูกกักขังแทนค่าปรับ จะถูกขังที่สถานกักขัง  เช่น สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี  สถานกักขังกลางจังหวัดตราด
4. ประเภทของความผิด
    ผู้กระทำความผิดคดียาเสพติด จะถูกควบคุมในเรือนจำที่ทำหน้า้ที่บำบัดการติดยา ซึ่งได้แก่ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษต่างๆ เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปาง (เนื่องจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษไม่เพียงพอ  ผู้ต้องขังที่ติดยาเสพติดบางส่วนก็ยังตงถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำทั่วไป  โดยใช้วิธีการบำบัดการติดยาเสพติดที่เรียกว่า "ชุมชนบำบัด (Therapeutic community)" ควบคู่กันไป
5. ลักษณะของตัวผู้ต้องขังเอง
    ถ้า
    ผู้ต้องขังอายุไม่เกิน 25 ปี จะถูกส่งไปยังทัณฑสถานวัยหนุ่ม
    ผู้ต้องขังหญิง  จะถูกส่งไปควบคุมยัง ทํณฑสถานหญิง
และ ผู้ต้องขังป่วย จะถูกส่งไปยัง ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทํณฑ์  เป็นต้น

 ถึงตรงนี้แล้วผู้อ่านคงได้รับความรู้และมีความเข้าใจในกระบวนการคัดแยกและควบคุมผู้ต้องขังของงานราชทัณฑ์  คำพูดที่ว่าติดคุกสบาย ยังงัยอยากอยู่ที่ไหนเลือกได้ คงจะหมดไปบ้าง  อย่างไรก็ตามการใช้ชีวิตในคุกหรือเรือนจำนั้นไม่สะดวกสบายอย่างที่บางคนคิด และที่ผู้เขียนเคยได้ยินมา ดังนั้น ก่อนทำอะไรลงไป "คิดซ้ำๆ ก่อนทำ "


 
   
     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชีวิตนักโทษในแต่ละวันในเรือนจำ

การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยา (Penology)

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 2