บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2011

Lethal Injection Investigation of the lethal injection issue in US

รูปภาพ
http://lethal-injection-florida.blogspot.com/2007/02/as-if-in-pain-notes-from-diaz-execution.html

รวมคลิป .... การประหารชีวิต

....  ขอขอบคุณอย่างสูงยิ่งมา ณ ที่นี้  สำหรับเจ้าของคลิปอันทรงคุณค่าทุกท่าน .......

เช็คอิน .... เข้าคุกวันแรก

รูปภาพ
ในระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยนั้น  ผู้กระทำความผิดหลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการจับกุม สอบสวน ส่งฟ้องผู้กระทำความผิดต่อศาล ซึ่งศาลได้พิจารณาว่ามีความผิดตามฟ้องจริง พร้อมกับมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกผู้กระทำความผิดรายนั้นๆ  ในระบบกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย การควบคุมผู้กระทำความผิดด้วยการจำคุก  ให้ดำเนินการส่งตัวผู้กระทำความผิดนั้นมาควบคุมยังเรือนจำหรือทัณฑสถานที่ตั้วอยู่ในเขตอำนาจศาลที่พิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งในส่วนของผู้กระทำความผิดนั้นก็จะได้รับการปฏิบัติและต้องปฏิบัติในสถานะของการเป็นผู้ต้องขังหรือนักโทษ โดยในวันแรกที่ผู้กระทำความผิดได้ถูกส่งตัวมายังเรือนจำ  จะได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ของทางการเรือนจำ โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ ดังนี้ 1. ตรวจสอบประวัติ     ประวัติของผู้ค้องขังจะถูกส่งมาที่เรือนจำโดยเจ้าหน้าที่่ตำรวจ ประกอบไปด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ต้องขัง  ลายพิมพ์นิ้วมือ  และรูปถ่าย  ซึ่งจะถูกตรวจสอบโดยละเอียดพร้อมๆกับสัมภาษณ์ผู้ต้องขังเพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ต้องขังเป็นคนเดียวกันกับที่ระบุไว้ในเอกสารของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2. พิมพ์ลายนิ้วมือ     เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพรา

เผอิญต้องติดคุก .... เลือกคุกได้ไหม ?

รูปภาพ
ผู้เขียนได้ยินและรับทราบมาบ่อยครั้งว่า เดี๋ยวนี้ติดคุกไม่ลำบาก อยากอยู่ที่ไหนเลือกได้ ด้วยเหตุนีั้ใคร่ที่จะทำความเข้าใจกับผู้อ่านว่า คุกหรือเรือนจำ มิใช่โรงแรม ดังนั้นเมื่ออยู่ในสถานะของผู้ต้องขังแล้ว ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกว่าจะอยู่คุกหรือเรือนจำไหน แต่สิ่งที่กำหนดว่าจะได้อยู่คุกไหน มีเงื่อนไข ดังนี้ 1. ท้องที่ทำความผิด      กล่าวคือ ถูกส่งฟ้องศาลที่ไหน ก็จำคุกที่เรือนจำประจำศาลนั้น ปัจจุบบันกรมราชทัณฑ์ เตรียมเรือนจำไว้รองรับกว่า 143 แห่งทั่วประเทศ 2. สถานะของผู้ต้องขัง      ผู้ต้องขังที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดี จะถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษต่างๆ  อาทิเช่น เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรือนจำพิเศษธนบุรี และเรือนจำพิเศษพัทยา  เป็นต้น  ซึ่งปฏิบัติต่อผู้ต้องขังแตกต่างไปจากผู้ต้องขังที่คดีเสร็จสิ้นแล้ว (แต่ในสภาวะปัจจุบัน ในเรือนจำหลายๆแห่ง ผู้ต้องขังเหล่านี้ก็ยังถูกคุมขังปะปนกับผู้ต้องขังที่ถูกตัดสินแล้ว เนื่องจากมีเรือนจำพิเศษไม่เพียงพอ)      ส่วนผู้ต้องขังโทษเหลือน้อย ก็อาจได้รับการพิจารณาส่งตัวไปยังทัณฑสถานเปิดต่างๆ (ทัณฑสถานเปิด เป็นสถานที่ที่ใช้เตรียมการใช้ชีวิตในสังคมแก่ผู้ต้องขังก่อนไ

บางคำพูด

รูปภาพ
คนคุก .... ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไม่ดีเสมอไป คนเราอาจทำผิดพลาดกันได้ บางครั้ง ... ความประมาท รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ กิเลสเพียงชั่ววูบ ก็อาจทำให้คุณเข้ามาอยู่ในคุกได้ โดยที่คุณนึกไม่ถึง ฉนั้น ... จงคิดก่อนทำ .... คิดซ้ำ ๆ และดับอารมณ์

ชีวิตนักโทษในแต่ละวันในเรือนจำ

รูปภาพ
สิ่งที่นำเนอต่อไปนี้ อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย เพื่อที่จะได้รู้ว่าชีววิตนักโทษ หรือผู้ต้องขังขึ้นถึงการดำเนินชีวิตประจำวันผู้ต้องขังและมีความเข้าใจในกฎ,ระเบียบ, ข้อบังคับ ตลอดจนประโยชน์และสิทธิต่างๆที่ผู้ต้องขังพึงได้รับ เพื่อเป็นส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน เวลา            การปฏิบัติตน 06.00 น. ลงจากห้องทำกิจวัตรประจำวัน 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า 08.00 น. เคารพธงชาติ สวดมนต์ ฟังการอบรมจากเจ้าพนักงาน และอนุศาสน์ 08.30 น. เข้ารับการฝึกวิชาชีพ และศึกษาอบรม และฝึกระเบียบแถวสำหรับผู้ต้องขังใหม่ 12.00 น. หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน และฟังเทปการศึกษาทางอากาศ หรือดูโทรทัศน์ในหน่วยงาน 13.00 น. เข้ารับการฝึกวิชาชีพหรือศึกษาอบรมต่อ 15.00 น. เลิกงาน, อาบน้ำ 15.30 น. รับประทานอาหารมื้อเย็น 16.00 น. เตรียมตัวขึ้นตึกนอนพักผ่อนตามอัธยาศัย 19.00 น. สวดมนต์ไหว้พระ, แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย 21.00 น. ฟังสัญญาณนกหวีด แล้วพักผ่อนหลับนอนด้วยความสงบ (สำหรับผู้ต้องขังใหม่จะต้องอบรมจิตภาวนา 1 เดือน)  06.00 น. ลงจากห้องทำกิจวัตรประจำวัน 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า 08.00 น. เคารพธงช

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 2

รูปภาพ
    ในตอนที่ 1 ได้แนะนำเบื่องต้นถึงที่ตั้งและประวัติของพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ไปแล้ว เอาละครับตอนที่ 2 นี้จาพาท่านเข้าไปดูทีละตึกว่ามีอะรัย .... ง้่านตามมาเลยครับ  .... เข้าไปในตึก 1 กัน ...     ที่ท่านกำลังยืนอยุ่นี้ เมื่อผ่านประตูทางเข้าตึก 1 มาแล้ว มางขวามือและด้านซ้ายมือ ถ้าท่านเงยหน้าขึ้นมองท่านจะเห็นภาพเขียนสีน้ำมัน เป็นภาพแสดงการลงโทษในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในพระอัยการศึก 32 ประการ เช่น การเปิดกะโหลก การถลกหนัง การเชือดปากจนถึงหู เป็นต้น หรือเรียกโทษเหล่านี้ว่า โทษทวะดึงษ์กรรมกรณ์ 32 สถาน " ซึ่งภาพเหล่านี้จะหาชมจากที่อื่นไม่มี ในห้องเดียวกันนี้จะมีกำปั่นเก็บเงินโบราณ ในสมัยก่อนใช้สำหรับเก็บรักษาเงินหลวงในเรือนจำ เดินตามผมมาครับ ผมจะพาขึ้นไปชมในส่วนอื่นๆ ต่อ เดินตรงไปที่ประตูข้างหน้าที่เห็น เมื่อเข้าไปเราจะเห็นเครื่่องพันธนาการนักโทษที่ใช้ในสมัยโบราณ วัตถุประสงค์การใช้เครื่องพันธนาการ ก็เพื่อป้องกันนักโทษหลบหนี ที่เห็นขณะนี้คือเครื่องพันธนาการที่เรียว่า "ตรวน" มีหลายขนาดและหลายแบบ มีวัตถุประสงค์การใช้ที่เหมือนกัน คือ ป้องกันการหลบหนีของนักโทษ  เดินเลี้ยวฃวามาทางนี้

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ตอนที่ 1

รูปภาพ
วันนี้ขออาสาพาผู้ที่สนใจ และไม่รู้จะทำอะไร ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์กัน ปกติแล้วจะเปิดทำการในวันราการ คือในวันจันทร์ - ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 16.00 น. ตั้ง อยู่ที่ถนนมหาไชย บริเวณเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเดิม (ติดกับร้านขายเครื่องหวาย "นายเหมือน ") ใกล้คียงกับสวนสาธารณสวนรมณีนาท  ด้านหน้าจะมีป้ายแสดงที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ ก่อนอื่ขอแนะนำประวัติพิพิธภัณฑ์ สักกะนิส ...       พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ เริ่มจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ.  2482   พ.อ.ขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีศรากร) ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้รวบรวมวัตถุเกี่ยวกับการลงโทษและวัตถุโบราณที่พบ ภายในบริเวณเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศ จัดแสดง ณ เรือนจำกลางบางขวาง เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม ข้าราชการราชทัณฑ์ บริเวณตรงข้ามเรือนจำกลางบางขวาง จึงได้ขนย้ายวัตถุสิ่งของดังกล่าวมาจัดแสดง ณ อาคารศูนย์ฝีกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ ในนาม พิพิธภัณฑ์ ราชทัณฑ์ โดยมีพิธีเปิดเป็นทางการพร้อมกับอาคารศูนย์ฝึก อบรมข้าราชการราชทัณฑ์ เมื่อวันที่  21  เมษายน  2515  ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่  27  มกราคม  2530  ปรับปรุง บริเวณที่ตั้ง

วิวัฒนาการการลงโทษผู้กระทำผิดในประเทศไทย

รูปภาพ
   การลงโทษผู้กระทำผิดได้มีความคล้ายคลึงกันในหลายประเทศ คือ วิวัฒนาการในแนวทางที่อาศัยหลักมนุษยธรรมมากชึ้น เริ่มจากการลงโทษอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อตอบแทนให้สมแค้น เพื่อข่มขู่ยับยั้งให้กลัวและเข็ดหลาบ มาเป้นการฟื้นฟูอบรมแก้ไขให้คืนดี รูปแแบการลงโทษในแต่ละยุคสมัย ก็เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการปกครองและสังคมเป็นสำคัญ     เฉพาะการลงโทษผู้กระทำผิดของประเทศไทย  ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  ซึ่งอาจแบ่งววิวัฒนาการเป็น 3 ยุค คือ     1. ยุคก่อนสมัยรัชกาลที่ 5     2. ยุคแห่งการปรับปรุงในสมัยรัชกาลที่ 5     3. ยุคปัจจุบัน  เริ่มแต่สมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ . 2475    ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  แม้กฎหมายเก่าจะสูญหายไปมาก  แต่จากฎหมายตราสามดวง  ก็ยังเห็นเค้าโครงของการลงโทษในสมัยนั้นได้ว่า เป็นการลงโทษเพื่อตอบแทนให้สมแค้นและข่มขู่ยับยั้ง เพราะมุ่งลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตในพระอัยการขบถศึก อันว่าด้วยโทษทวะดึงษ์กรรมกรณ์ 32 ประการ ได้กำหนดวิธีการประหารชีวิตหลายรูปแแบอย่างน่าสยดสยอง     การลงโทษสมัยอยุธยา พอประมวลได้ ดังนี้   1. การประหารชีวิต ปกติใช้วิธีตัดศีรษะ

การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยากับความผิดอันยอมความได้

   แนวคิดในทางทัณฑวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความผิดอันยอมความได้ ดังนี้     (1) โทษเป็นส่วนสำคัญของกฎหมายอาญา เพราะโทษคือสภาพบังคับที่รัฐปฏิบัติต่อ ผู้กระทำความผิด แม้แนวคิดในการใช้เป็นเหตุในการลงโทษนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและ ค่านิยมของสังคม แต่ลักษณะสำคัญของโทษยังคงเหมือนเดิม คือ การทำให้ผู้กระทำผิดได้รับความ ลำบากจากผลของการกระทำของตน     (2) ลักษณะของการลงโทษในปัจจุบัน แม้จะเห็นว่าต้องใช้การลงโทษเพื่อป้องกันมิให้ มีการกระทำความผิดซ้ำขึ้นมาอีกและเพื่อฟื้นฟูให้ผู้กระทำผิดสามารถปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างผู้ ประพฤติดีมีคุณธรรม แต่ลักษณะของการลงโทษด้วยการแก้แค้นยังคงปรากฏอยู่เช่นเดียวกัน โดย เห็นได้จากการลงโทษหนักเบาตามพฤติการณ์ของการกระทำความผิด ดังนั้น การลงโทษจึงเป็นการ มองทั้งในอดีต (ความเหมาะสมของโทษที่ควรได้รับกับการกระทำความผิดที่ได้ลงมือ) และใน อนาคต (การป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดอีก)     (3) การยอมความเป็นการตกลงกันระหว่างผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด โดย ลักษณะของการยอมความในปัจจุบัน หน่วยงานของรัฐไม่มีหน้าที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตกลง ระหว่างผู้เสียหายและผู้ก

การลงโทษตามหลักทัณฑวิทยา (Penology)

    ทัณฑวิทยา (penology) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในสาขาอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา โดยทัณฑวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยแนวคิดและทฤษฎีการลงโทษ กระบวนการลงโทษ กลไกในทาง จิตวิทยาที่จะปกป้องและป้องกันการกระทำความผิดทางอาญา และการปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษ35 แนวคิดการลงโทษตามหลักทัณฑวิทยาในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์หลายประการ กล่าวคือ     (1) การแก้แค้น (retribution) การแก้แค้นเป็นแนวคิดที่ใช้ในการลงโทษผู้กระทำความผิดมาแต่ยุคแรกที่ให้ ผู้กระทำผิดได้รับโทษตอบแทนในลักษณะ “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” โดยแนวคิดที่สำคัญ คือ การ ลงโทษในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นการตอบโต้อาชญากรด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม ตาม หลักการ “Let the punishment fit the crime. การลงโทษตามแนวความคิดนี้ จึงมีสาระสำคัญว่าต้องลงโทษในอัตราส่วนที่ เหมาะสมกับความผิดที่ได้ก่อ ดังนั้น อาชญากรรมชนิดที่รุนแรง (severe crime) จึงต้องมีอัตราส่วน การลงโทษมากกว่าอาชญากรรมเล็กน้อย (minor crime) อย่างไรก็ตาม การลงโทษด้วยการแก้แค้นเป็นการลงโทษที่มองย้อนหลัง (backward- looking) ไปในอดีตว่าควรจะลงโทษผู้กระทำความผิดลักษณะนี้ในอัตราโทษเท่าใดจึง จะเป็นการเหมาะสมไม่ไ

กระบวนการยุติธรรมของไทย

 กระบวนการยุติธรรม  หมายถึง การดำเนินการคดีเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ระหว่างผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานมี การสืบสวนหาข้อเท็จจริงกับผู้กระทำผิดจนถึงการฟ้องร้องต่อศาล ทั้งในกรณีของคดีแพ่งและคดีอาญา       บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม      1. ประชาชน หมายถึง ประชาชนผู้เกี่ยวข้อง ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย พยาน      2. พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด      3. พนักงานอัยการ มีหน้าที่ฟ้องคดีผู้ถูกกล่าวหาต่อศาล เป็นทนายโจทก์หรือทนายจำเลย หรือทนายความของแผ่นดิน      4. ทนายความ คือ ผู้ที่ดำเนินคดีให้แก่ลูกความในศาล      5. ศาล มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี             ศาลแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ                1. ศาลชั้นต้นคือ ศาลเริ่มต้นคดี แบ่งเป็น                      - ศาลแขวง คือ ศาลพิจารณาคดีเล็ก ๆ เช่น ลักทรัพย์ ยักยอก ทำร้ายร่างกาย                      - ศาลเยาวชนและครอบครัว                      - ศาลแรงงาน                      - ศาลภาษีอากร                2. ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีท